5 เคล็ดลับทำใจให้เป็นกลาง!!!


 เรื่องทำใจให้เป็นกลาง อาจดูเหมือนพูดง่ายแต่ทำยาก เพราะแต่ละคนย่อมมีพื้นฐานที่ต่างกัน มีประสบการณ์การรับรู้ที่ต่างกัน และที่สำคัญ ทุกคนก็ยังอยู่ในกลุ่มผลประโยชน์ ไม่ในสถานการณ์ใดก็สถานการณ์หนึ่ง แต่มิได้หมายความว่าฝึกไม่ได้ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ หากเราควบคุมจิตใจตนเองได้ก็นับได้ว่าชนะไปมากกว่าครึ่ง และนี่คือเคล็ดลับ 5 ประการ ที่จะฝึกทำใจให้เป็นกลาง…

1. อย่ามองตัวเองเป็นศูนย์กลาง

นี่คือเคล็ดลับสำคัญที่สุด เพราะถ้ามองปัญหาต่าง ๆ จากมุมมองฝ่ายเดียว ใจย่อมไม่เป็นกลาง เพราะเราจะไม่มอง ไม่พยายามเข้าใจเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดของผู้อื่น

2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา

เพื่อให้เรามองเห็นภาพแบบองค์รวม ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ความหมายก็คือ ต้องลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นเขา อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเขา มีข้อจำกัดแบบเขา เราจะคิดตัดสินใจเช่นไร

3. มองอย่างเจาะลึกหลายชั้น อย่าเอาอาการมาเป็นสาเหตุ

บ่อยครั้งที่ปัญหาความขัดแย้งไม่อาจแก้ไขได้ เพราะมองตื้นเขินเกินไป เอาอาการมาเป็นสาเหตุ จึงควรมองอย่างเจาะลึกเพื่อค้นหาเหตุที่แท้จริง จะได้แก้ไขตรงจุด ถูกประเด็น

4. มองไปที่อนาคตเพื่อ “อยู่” ไม่ใช่ “แยก”

เพราะการมองเช่นนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายยังคงดำรงอยู่ได้ มิใช่แก้ไขเพื่อให้ต้องตายกันไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นการมองทางออกในทัศนคติที่เป็นบวกต่อทุกฝ่าย

5. หาทางออกว่าจะทำอย่างไรให้ “อยู่ร่วมกัน” ต่อไปได้

การมีทัศนคติที่เป็นบวกยังไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้าย แต่ต้องหาข้อสรุปในทางเทคนิคหรือวิธีการที่สอดรับกับ “ใจที่เป็นกลาง” ด้วย ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาบ่อยครั้งก็มาพลาดท่าตรงนี้เอง เพราะผู้รับช่วงต่อใจยังไม่เป็นกลางพอ ยังคิดแบ่งพรรคแบ่งพวก เจ้าโกรธเจ้าแค้น…

7 thoughts on “5 เคล็ดลับทำใจให้เป็นกลาง!!!

  1. เห็นด้วยกับเคล็ดลับ 5 ประการ ครับ ประมวลโดยเป้าหมายก็เพื่อให้ทุกๆฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่าง “สันติ” และ “มีความสุข”(สันติสุข….ความสุขท่เกิดจากความสงบ) และอยากสบับสนุนกระทู้เพิ่มเติม ดังนี้ครับ
    คำว่า “เป็นกลาง”เป็นสภาวธรรมท่มีนัยทางทิฏฐิ(แนวความคิด)ขึ้น 2 ฝ่าย เช่น การทรมานตนเองด้วยความโง่เขลา และ การเสพกามคุณอย่างสุดโต่ง
    คำว่าเป็นกลางจึงเกิดขึ้น คือ “สัมมาทิฏฐิ”(ทางสากลาง)ซึ่งเป็นทางออกจากความผิดพลาดทั้งสองทางข้างต้น อันเป็นหลักการของ”อริยสัจ”ดังเป็นท่ทราบกันทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ
    การทำ “ใจให้เป็นกลาง”ซึ่งเกิดขึ้นก่อนทำวาจาและกายให้เป็นกลางควรมองท่ หลักการของอริยสัจประกอบเช่นกันว่า ท่ไหนเป็นท่เกิดและท่ตั้งอยู่ของปัญหา ให้ไป “ละหรือดับ”ในท่นั้น
    “การละ”ก็คือการประสานประโยชน์กันเพื่อสลายความขัดแย้งให้หมดไป
    “การดับ”ก็คือการเลิกยุติความต้องการเสียทั้งสองฝ่ายเสมือนไม่มีประเด็นความขัดแย้งอะไรเกิดขึ้นมาก่อนเลย เพราะไม่มีความต้องการนั้นๆแล้ว
    ดังหลักการปฏิบัติธรรมท่ว่า “….วิบากต้องละ(ปล่อยวาง)ตัณหาต้องดับเสียให้สิ้น…..”
    จริงนะ สันติภาพในโลกนี้จะมีเพียง 2 ลักษณะเท่านั้น คือ
    1 สันติภาพท่เกิดจาก “การประสาน”(ละ)ประโยชน์ซึ่งกันและกัน และ
    2 สันติภาพท่เกิดจาก”การยุติ”(ดับ)ผลประโยชน์จากกันและกัน
    เหตุนี้นะ ความเป็นกลางใดๆทางใจ วาจา หรือ กาย จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกๆฝ่ายเห็นชัดตรงกัน(เสมอกัน)ว่า สิ่งใดควรประสานกัน(ละ) สิ่งใดควรหยุด(ดับ) ดังท่พระศาสดาทรงเตือนเราเสมอว่า เมื่อบุคคลจะมีวิวาทะก็เพราะศีลและทิฏฐิไม่เสมอกัน
    จริงไหมครับ ว่า ความเป็นกลางจะ “ตั้งมั่น”อยู่บนศีลและทิฏฐิ(แนวความคิด)ท่เสมอกัน
    ถ้าจะถามว่า แล้วจะทำอย่างไรจะให้ทุกๆฝ่ายมีศีลและทิฏฐิเสมอกันละพระศาสดาทรงเน้นแสดงครั้งแล้วครั้งเล่ามิใช่หรือว่า “….ศึกษาเรื่องความทุกข์ทั้ง 11 อาการให้แจ่มชัด… แล้วความเป็นกลางจะเกิดขึ้นได้จริงกับทุกๆคน เรียกให้ทุกคนมาพิสูจน์ได้ ในทุกกาลเวลา
    เพราะว่า “….นอกจากทุกข์แล้ว ชีวิตนี้ไม่มีอะไรปรากฏอยู่เลย…”ภิกษุณีท่านหนึ่งกล่าวไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
    ผู้เห็นทุกข์จริงๆย่อมเกิดเมตตาธรรม เมตตาธรรมนั้นแหละจะคำชูโลกไว้
    แล้วเรามาจัดระเบียบความทุกข์ให้เป็นระบบแล้วหาทางแก้ไข(ละหรือดับ) หรือว่า เราจะมาจัดความทุกข์ให้กระเจิดกระเจิงไร้ระเบียบจนหาทางแก้ไขได้ยาก ผู้เป็นกลางหรือเดินทางสายกลางย่อมตอบคำถามนี้ได้ จริงไหม
    ด้วยความนอบน้อมเคารพ
    ฟางข้าว

  2. ถ้าใจเราสู้ ไม่หวั่นไหว สิ่งถูกคือถูก ความดีคือความดี ก็สบายใจ แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางหมู่มาร หรือหมาหมู่ก็อยู่ได้สบายๆ ไม่มีอะไรหนักใจ หมาหมู่ทำร้ายไม่ได้ เพราะมีสิ่งดีๆ คุ้มครองอยู่

  3. คนที่จะเป็นกลางได้ต้องทราบความจริงก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่าไร และเมื่อเห็นปีญหาต้องเข้มาทำจัดการด้วยคนเองจึงจะดี เพราะจะสามารถแยกแยะออกได้ว่าอะไรควรแก้ไข จึงจะสำเร้จ

ใส่ความเห็น